ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริ ให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และพัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริมอาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้าง ความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป
หมายเหตุ: โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) จ. แม่ฮ่องสอนตั้งอยู่คนละแห่งกับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง จ. เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการหลวง แต่เป็นโครงการในพระราชดำริเหมือนกัน ข้อมูลของโครงการหลวงปางอุ๋ง คลิ๊ก ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง
ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำ คล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ยอดฮิตสุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของ แม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย" ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสน และไอหมอกบางๆ ยิ่งเป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม
ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพชมทัศนียภาพและ บรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของโครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณ ที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและ กล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น