pagemaker

ELEPHANT WORLD SURIN

สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ที่เกิดมาจากคนเพื่อคน แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่จะเกิดมาจากคนพื่อช้าง หนึ่งในงานที่ถูกบรรจุใน Body of Work ของ อ.บุญเสริม เปรมธาดา

เรื่อง
pagemaker

ELEPHANT WORLD SURIN

สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ที่เกิดมาจากคนเพื่อคน แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่จะเกิดมาจากคนพื่อช้าง หนึ่งในงานที่ถูกบรรจุใน Body of Work ของ อ.บุญเสริม เปรมธาดา

เรื่อง

ELEPHANT WORLD SURIN สถาปัตยกรรมเป็นศาสตร์ที่เกิดมาจากคนเพื่อคน แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่จะเกิดมาจากคนพื่อช้าง หนึ่งในงานที่ถูกบรรจุใน Body of Work ของ อ.บุญเสริม เปรมธาดา ผู้คว้ารางวัa RoyaL Academy Dorfman Award ประจำปี 2019 บนถนนสายเล็กๆจากถนนใหญ่วิ่งตัดผ่านหมู่บ้านผ่านทุ่งนาสีเขียวเป็นแปลงๆ ไกลเกือบสุดตาของชาวนาสุรินทร์ในช่วงหน้าฝน ที่คอยคั้นระหว่างแต่ละชุมชน ทิวทัศน์โดยรอบทำให้รู้สึกเหมือนกำลังเดินทางอยู่ใน Middle of Nowhere เมื่อเส้นทางวิ่งเข้ามาลึกขึ้นจะเริ่มพบว้ด โรงเรียน ที่มีชื่อเที่ยวกับช้าง แม้แต่หมู่บ้านที่มองเข้าไปใต้หลังคาบ้านหลายหลัง จะเห็นเงาของสัตว์ขนาดใหญ่คือช้าง บ้างก็จะถูกผูกไว้ใต้เงาต้นไม้ เรากำลังเข้าสู่หมู่บ้านชาวกูย ณ บ้านตากลางที่ตั้งของโครงการโลกข้องช้าง หรือ Elephant World ในความดูแลขององค์การส่วนบริหารจังหวัดสุรินทร์โดยมีผู้ออกแบบโครงการคือ Bangkok Project Studio

ที่ก่อตั้งโดย อาจารย์บุญเสริ่ม เปรมธาดา ความสำคัญของช้างในบ้านเราคือสัตว์ที่คู่บ้านคู่เมืองมาโดยตลอด แม้เราอาจจะถูกสอน

มา แต่มีโอกาสน้อยครั้งที่จะได้สัมผัสในขณะเดียวกั้นความสัมพันธ์ของช้างกับชาวกุยซึ่งเป็นคนชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มาเป็นเวลานานแล้วนั้น มีความพิเศษมากกว่าเรื่องของคนและสัตว์ทั่วไป”ช้างในสุรินทร์มีความแตกต่างจากที่อื่นเพราะที่นี่เลี้ยงช้างเหมือนสมาชิกในครอบครัว ซึ่งมีความผูกพัน สังกตุจากบ้านดั้งเดิมของชาวกูยจะเป็นบ้านหลังคาทรงจั่วธรรมดาๆ แต่แบ่งส่วนหนึ่งคนอยู่ ส่วนหนึ่งช้างอยู่เป็นวิถีธรรมชาติของเขา" อาจารย์บุญเสริมกล่าวถึงความสัมพันธ์ของคน และช้างของที่นี้ ซึ่งคนภายนอกอาจไม่เคยรู้ แต่เมื่อเศรษฐกิจภายในหมู่บ้านไม่ค่อยจริญเติบโตจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวบ้านซึ่งเป็นคนเลี้ยงช้างตั๊ดสินใจพาช้างออกเดินทางไปตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อหารายได้ระหว่างการเดินทางในแต่ละครั้งนั้นจะทำให้ช้างเกิดอุบัติเหตุและป่วยอยู่ตลอดทางรัฐบาลและจังหวัตสุรินทร์จึงมีแนวคิดพาช้างกลับบ้านมาอยู่ในถิ่นฐานทั้งกระตุ้นศรษฐกิจโดยจัดทำโครงการโลกของช้าง ซึ่งจะเป็นอาณาจักรของช้างที่มีขนาดใหญ่และมีช้างเลี้ยงมากที่สุดในโลกนี้ขึ้นมา ให้สม กับที่สุรินทร์เป็นเมืองช้าง
 

 

"ในฐานะที่เป็นผู้ออกแบบโครงการ โลกของช้าง ผมจึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ช้างและคนมีความเข้าใจกัน มีปฏิสัมพันธ์กันได้ในพื้นที่นี้ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยอยู่ในชุมชนคนที่เข้ามาท่องเที่ยวได้เข้าใจว่าความสัมพันธ์ของคนกับสัตว์นั้นเป็นอย่างไร" อาจารย์บุญเสริมพูดถึงเป้าหมายสำคัญที่จะทำให้คนภายนอกเข้าใจในความสัมพันธ์ของช้างและคนในชุมชน ซึ่งไม่ใช่ตามความเข้าใจของคนภายนอกที่มองว่านำช้างมาใช้แรงงาน"ตามมุมมองของผมช้างในสุรินทร์เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องที่สุด และใกล้ชิดคนที่สุด” "การค้นพบที่น่าสนใจคือ Non-Architecture หรือสิ่งที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรมความกว้างไกลไม่ใช่เฉพาะตัวอาคารแต่เป็นเครื่องใช้ไม้สอยที่ชาวบ้านประดิษฐีขึ้นซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบโดยสถาปนิก"ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ค้นพบเมื่อทำ Research

ความเป็นอยู่ในหมู่บ้านชาวกูยโดยนำสิ่งรอบๆ ตัวในสถานที่แห่งนี้มาใช้เป็นที่มาใช้ในการออกแบบและแนวความคิดของการก่อสร้างทั้งหมด


 

ELEPHANT STADIUM
"ในส่วนของ Stadium มีลักษณะเหมือนเป็นสนามเด็กเล่นของช้าง เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าเมื่อช้างกับคนเล่นกันแล้วเป็นอย่างไร" อาจารย์บุญเสริมเปรียบเทียบแนวคิดของการสร้างอาคารหลังนี้เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจให้กับคนภายนอกได้เข้ามานั่งสังเกตวิถีชีวิต ในสถานที่ซึ่งจำลองลักษณะภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ เหมือนเนินในภาคอีสาน เอาดินลูกรังจากการขุดทำบ่อเก็บน้ำให้ช้างเล่นน้ำ เป็นวิธีการเอาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งประหยัดที่สุดเอามาทำเป็นเนินดิน Landscape ภายในพื้นที่จึงเสมือนถูกเชื่อมให้ต่อเนื่องกันทั้งข้างในและข้างนอก


ช้างเมื่อเข้ามาอยู่ในบ้านชาวกูย จะอยู่พื้นที่ซึ่งเป็นสเกลของคน แต่ตอนนี้คนจะเป็นฝ้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของช้างซึ่งเป็นสเกลของช้างแทน "สังเกตได้ว่าจากหลังคาทรงจั่วขนาดมหึมาด้วยสเกลช้าง สเกลของอาคารของสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับช้างที่ศึกษาพบว่าที่ผ่านมาเราไม่ได้ออกแบบมาเพื่อช้าง ซึ่งนี่จะเป็นครั้งแรกที่เราออกแบบ และต้องการให้มนุษย์รับรู้ขนาดในสเกลของมัน ให้สังเกตถึงความใหญ่"การออกแบบพื้นที่ต่างๆ ถูกออกแบบมาให้ช้างได้อยู่อย่าง

สะดวกสบายอาคารลักษณะเปิดโล่งที่มีหลังคาทรงจั่วรูปทรงปกติ แต่เปิดช่องว่างเพื่อถ่ายเทอากาศ มีช่องหลังคาให้แสงลงมา และสามารถให้ต้นไม้ที่จะปลูกโตทะลุขึ้นไปเป็นเหมือนร่ม แผ่ข้างบนคลุมเป็นหลังคาอีกชั้นให้ความร่มเย็น หลังคาในสเกลนี้มีความหนาเกือบหนึ่งเมตรครึ่งตามสัดส่วนทางวิศวกรรม ปิดโครงสร้างเหล็กด้วยไม้เบญจพรรณ "วิธีการออกแบบคือแทนที่จะทำอะไรถาวร การออกแบบให้สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจะทำให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากร"ส่วนที่คนสัมผัสโดยตรงจะถูกแทรกการออกแบบที่แฝงไปด้วยความเรียบง่ยตามภูมิปัญญา โดยช่างที่ใช้เป็นช่างในท้องที่ "ลักษณะงานของผมเป็นงานที่ใครทำก็ได้ ดังนั้นเราต้องเข้าใจในศักยภาพของช่างแต่ละท้องที่ ความดิบก็คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของงานท้องถิ่น” อาจารย์บุญเสริมได้อธิบายถึงความดิบหยาบที่เกิดขึ้นบนองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรมในอาคาร Stadium นี้ว่า เกิดจากความตั้งใจ และความไม่คาดคิดกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ต้องการสื่อออกมา "จะเห็นได้ว่าเสาคอนกรีตเปลือยรอบๆ เรียงราย ต้องการถ่ายทอดจิตวิญญาณของงานสดาปัตยกรรมในแบบบุญเสริม คือจิตวิญญาณของสิ่งที่หยาบ และความไม่คาดคิด”
 

BRICK TOWER

"ถ้า Stadium เป็นที่ของช้าง ตรง Tower นั้นจะเป็นที่ของคน" เพื่อให้คนภายนอกได้มาใช้พื้นที่บนหอสังเกตเห็นบริบทของโครงการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของช้างตั้งแต่เกิดจนตายและมีสุสานในวัดเป็นของตนเอง เป็นวิถีธรรมชาติของคนที่นี่ซึ่งมีความผูพันกับช้างรวบถึงได้เห็นถึงพื้นที่ราบสูงกว้างและความเป็นเมืองสุรินทร์ที่ไม่ใช่เมืองใหญ่นักโดยปกติการสร้างหอชมวิวมักจะมีจุดประสงค์ใบการนำคนขึ้นไปสู่ด้านบบสุด เพื่อชมวิจากจุดซึ่งสมารถมองวิสัยทัศน์ได้กว้างที่สุดในบริเวณ แต่การทำ Tower ของที่นี่จะมีแนวคิดแตกต่างจากของที่อื่นเนื่องจากมีจุดประสงค์ให้ผู้มาชมสามารถเข้าถึงคุณค่าของ Landscape บริเวณรอบๆได้ในแต่ละชั้นของโครงการเป็นการให้คนกระจายอยู่แต่ละชั้นแล้วใช้เวลากับสิ่งงดงามโดยไม่ต้องรีบร้อนเพื่อไปให้ถึงข้างบนสุดเพียงอย่างเดียว สังเกตได้จากบันไดที่ซ้อนกันไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ชั้นเพิ่มพื้นที่การเดินได้อย่างทั่วถึงในแต่ละชั้น

Brick Tower เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสำหรับคนเพราะฉะนั้นจะมีขนาดสเกลของมนุษย์ ลักษณะของอาคารนั้นไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน แต่เป็นความตั้งใจ

สร้างให้ไม่มีส่วนเหลี่ยมมุมโครงสร้างหลักคือเสาที่ถูกถ่ายเกน้ำหนัก ก่อด้วยอิฐ และชอยเป็นเนื้อของอาคารโปร่งไร้กำแพง สามารดเดินเข้าอาคารได้จากช่องว่างของเสาทุกทิศทางหากเกิดกรณีฉุกเฉินคนก็สามารถเข้ามาหลบภายในอาคารได้ เมื่อช่องว่างของโครงสร้างถูกทำเป็นกรอบประตูเข้าออกด้านล่างด้านบนทำหน้าที่เป็นกรอบหน้าต่งทีชอยเสาให้ดีขึ้นเพื่อถ่ยน้ำหนัก ซึ่งเป็นลักษณะภาษาเดียวกับที่พบในหมู่บ้านชาวกูย เวลาคนมองจากภายนอกจะเห็นเป็นช่องลวดลายในขณะที่มองจากภายในออกมาจะเป็นเพียงลักษณะของกรอบมุมมองหอทั่วไปอาจมีการปิดจบด้านบนแต่หอที่อาจารย์บุญเสริมออกแบบนั้นต้องการสื่อถึงจิตวิญญาณแห่งความอิสระและการปลดปล่อย เนื้อของอาคารที่เริ่มจากด้านล่างด้วยเสาก่ออิฐจึงไม่มีการปิดจบไร้หลังคาโดยให้ตัวเสาแต่ละต้นวิ่งขึ้นไปที่ความสูงไม่เท่ากันอีกด้วย

ELEPHANT MUSEUM
หากสองอาคารข้างต้นนั้นมีผู้ใช้งานหลักที่แยกชนิดกัน พิพิธภัณฑ์ช้างไทยที่อยู่ในส่วนกระบวนการก่อสร้างหลังนี้เป็นอคารที่สร้างเพื่อให้กั๋งคนและสัต

สามารถอยู่ร่วมกันได้เกือบทั้งพื้นที่ลักษณะอาคารเสมือนสวนสาธารณะที่เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเกิดจากการตัดสอยดึงแมสขนาดใหญ่รอยแยกของแมสกิดเป็นทางเตินเปิดโล่งและแบ่งการใช้งานออกในแต่ละแมส การเปิด-ปิดของแม่สได้สร้างปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงพื้นที่ภายในและภายนอก(nside-Oud โปรแกรมการใช้งานกั๋งส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ช้างไทยส่วนขายของที่ระลึกและโปรแกรมร้องรับหลักในอาคาร

 

รูปแบบของอาคารมีความคล้ายคลึงกับโครงการสถาบันกันตนา แต่ในความเหมือนนี้มีความแตกต่างกี่ขนาดและภาษาการใช้วัสดุ สร้างความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วยบริบท และเหตุผลสนับสนุนทั้งจากการศึกษาพฤติกรรมช้าง เช่นการมองเห็น การก้าวเท้า การเดิน การได้ยิน และมีรายละเอียดอีกมาก จนรวบรวมเป็นหนังสือด้วยตนเองในระยะเวลาหลายปีมานี้

 

ตามงานวิจัยการใช้ภาษาเสียงใน "Sound Brick" เพื่อสร้างการต่อยอดงากต้นแบบการศึกษาหลักแบบ"เสียงในภูมิสถาปัตยกรรม” (Soundscape) กำแพงอิฐขนาดใหญ่ในสเกลของนุษย์นั้นเป็นการก่ออิฐซึ่งมีความหน้ากักเก็บเสียงได้ในระตับความสูงภายใน และมีลักษณะค่อยๆ เพิ่มความสูงจนเป็นส่วนโค้งจากทางเดินเข้าสู่ตัวอาคารทางต้นหน้าการเว้าโค้งในแต่ละระดับเปลี่ยนแปลงความสูงเพื่อเกิดการถ่ายเทของอากาศลบและเสียงทั้งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้คนแยกแยะความแตกต่างของเสียงในพื้นที่ได้ การก่ออิฐที่เรียบไม่มีลวดลายนั้นอำนวยต่อการเดินทางของเสียง

จากบริบทของธรรมชาติทั้งภายในและภายนอกรวมถึงการมีต้นไม้ระหว่างทางเดินนอกจากให้ความร่มเย็นแล้วยังช่วยลดทอนการสะท้อนของเสียงในพื้นที่เพื่อให้ผู้คนซึมซับความพิเศษของสถานที่ได้ดีขึ้นด้วย"ผมเชื่อได้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการหนึ่งที่ใช้สถาปัตยกรรมในการเชื่อมโยงคนกับช้าง และธรรมชาติเข้าหากันสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งคือสถาปัตยกรรมนั้นจะสามารถสร้างโอกาสให้กับชุมชนและชาวบ้านในแถบนี้ สร้างโอกาสให้กับเมืองสุรินทร์รวมถึงจังหวัตใกล้เคียง เชื่อได้ว่าอาคารและลักษณะโครงการนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ชาวสุรินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนี่ยังสะท้อนให้เห็นว่ในบางครั้งสัตว์นั้นอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง"สถาปัตยกรรมของอาจารย์บุญเสริม และทีม Bangkok Project Studio ได้คำนึงถึงการสร้างพื้นที่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายไม่ว่าจุดประสงค์ของงานชิ้นนั้นจะสร้างเพื่อใครสุนทรียศาสตร์ที่เกิดขึ้นภายในงานจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้มาเยือนสามารถสัมผัส

เรื่องราวของคนและช้างโด้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความสำคัญคืองานสถาปัตยกรรมนั้นต้องมาสัมผัสกับสถานที่ด้วยตนเองนั่นจะเป็นการทำให้กระบวนการของงานสมบูรณ์ในที่สุด

06 December 2019
4439

CONTRIBUTORS

RELATED POSTS

...

BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION’S IDENTITY SYSTEM

เรื่อง สันติ บุญสา

Farmgroup ปล่อยภาพตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร รวมถึงระบบอัตลักษณ์ของเมืองโฉมใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วันนี้อยากชวนมาย้อนดูว่า กระบวนการดีไซน์ผลงานของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง

...

แชมป์-สมชนะ กังวารจิตต์

เรื่อง สันติ บุญสา

Prompt Design บริษัทออกแบบมือรางวัลที่ให้ความสำคัญกับการเนรมิตบรรจุภัณฑ์นานกว่า 18 ปี

...

ETRANMYRA จักรยานยนต์ไฟฟ้า

เรื่อง สันติ บุญสา

จักรยานยนต์ไฟฟ้า เน้นเจาะตลาด Rider ส่งอาหาร และพัสดุ

...

NOBLE แผนปี 2021 เปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้าน

เรื่อง สันติ บุญสา

NOBLE ประกาศแผนปี 2021 ทุ่มเปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์

...

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี

เรื่อง สันติ บุญสา

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี ย้ายมาผลิตในไทยแทน เพื่อลดต้นทุน

...

FiLMiC Pro ปล่อยอัปเดตใหม่ เพิ่ม LogV2 ที่มี Dynamic Range ที่ดีขึ้น

เรื่อง สันติ บุญสา

แอปถ่ายวิดีโอ FiLMiC Pro สำหรับ iOS ได้ปล่อยอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญ อย่าง LogV2 ที่รองรับ Dynamic Range มากขึ้น ลดเสียงรบกวน และการปรับความเข้มสีแบบใหม่

ติดตามข่าว DAYPOSURE