อยู่น่านไง

อยู่น่านไง

เมืองท่ามกลางหุบเขา มีธรรมชาติสวยงาม อีกทั้งยังอบอวลด้วยกลิ่นอายของศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

เรื่อง
อยู่น่านไง

อยู่น่านไง

เมืองท่ามกลางหุบเขา มีธรรมชาติสวยงาม อีกทั้งยังอบอวลด้วยกลิ่นอายของศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

เรื่อง

น่านงัย ทริปนี้เราเดินทางสู่จังหวัดน่าน การออกเดินทางเราก็จะพบสิ่งที่แปลกใหม่เสมอ สำหรับทริปนี้ก็เช่นกัน เราได้เพื่อนร่วมทางใหม่ ที่มาสร้างเสียงหัวเราะในการเดินทางครั้งนี้


น่านเป็นจังหวัดที่น่าสนใจ สำหรับสายเที่ยวแนวรักธรรมชาติ และความสงบ คณะเราเน้นเข้าวัดไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคลตามวิถีชาวพุทธ วัดที่เมืองน่านมีเยอะมาก เราคงไม่สามารถที่จะไปไห้ววันเดียวได้หมดครบทุกวัด วันนี้เราจึงเลือกวัดที่เดินทางสะดวก และเป็นที่สำคัญที่หลายคนต่างมากราบไหว้เพื่อขอพรกัน เราจึงเดินทางมาที่วัดพระธาตุเขานัอย ซึ่งเป็นจุดชมวิวของตัวเมืองน่าน 
 


วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้าน ตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่อ อิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าได้ รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริต เดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันวัดพระธาตุเขาน้อย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ และเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนดอยเบาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 240 ม. หน้าวัดมีทางขึ้นเป็นบันไดนาค 303 ขั้น
 


จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหา อุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
 


ทางรถขึ้นถึงตัววัด เมื่อขึ้นไปยืนบนยอดเขา จะมองเป็นทิวทัศน์ของเมืองน่าน ได้อย่างชัดเจน ตามประวัติ พระธาตุองค์นี้ สร้างโดย มเหสีรองของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อราวพุทธศตวรรณที่ 20 เจ้าผู้ครองนครน่านอีกหลายองค์ต่อมา ได้บูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระธาตุ โดยตลอด จนกระทั่งมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ในปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า ชื่อหม่องยิง กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.2523 ด้วยความเป็นวัดที่อยู่บนเขาสูงจึง เป็นจุดชมทิวทัศน์ ที่สวยงาม  อยู่ตรงลานปูน พระพุทธรูปปางลีลาองค์ใหญ่ คือพระพุทธมหาอุตมมงคมนันทบุรี ศรีเมืองน่าน สร้างเมื่อปีพ.ศ.2542 ถีอเป็นจุดเดียวที่เห็นเมืองน่านจากมุมสูง เราจะเห็นขุนเขา น้อยใหญ่ ตั้งทะมึน โอบล้อมเมืองน่าน เป็นฉากหลัง จุดนี้ยังแสดงให้ เราเห็นชัด ถึงลักษณะการตั้งเมือง ของทางภาคเหนือ ที่มักเลือก ทำเลที่ตั้ง บนที่ราบลุ่ม และหุบเขาด้วย 
 


วัดต่อมาวัดพระธาตุแช่แห้ง พระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน วัดพระบรมธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปราว 2กม. เส้นทางสายน่าน-แม่จริม สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีีความสูง55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทอง เหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการ พระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี พระบรมธาตุแช่แห้งปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่าพญาการเมืองโปรดเกล้าให้ สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัยระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างน่าน
 


พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นศิลปะการก่อสร้าง ที่มีความวิจิตรงดงาม อีกแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ ที่เป็นศิลปะ การก่อสร้าง ที่ได้รับอิทธิพล การก่อสร้างมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุณไชย โดยมีลักษณะโดยรอบๆ ของ องค์พระธาตุ คือจะมี การบุรอบองค์ ด้วยทองจังโกในส่วน ของทางเดิน ขึ้นสู่งองค์พระธาตุนั้น จะเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าลักษณะของการปั้น จะเป็นลายนาคเกี้ยวที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของ ช่างฝีมือและของ ศิลปะ ของจังหวัดน่านโดยแท้จริง ชาวเมืองล้านนามีความเชื่อกัน ว่าการ ได้เดินทางไปสักการบูชากราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชูธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับ อานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เป็นต้น และหากใครที่จะเดินทางได้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง นั้น สามารถเดินทางไปได้ทุกวัน ซึ่งจะเปิดให้เข้านมัสการตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
 

 

วิหารหลวง 
อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและ ด้านหลัง 1 ห้อง ภายในวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านทองเป็นพระประธาน พุทธลักษณะปาง มารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ประทับนั่งบนฐาน เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามในจังหวัดน่านองค์หนึ่งและ เป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน พระพุทธรูปประทับยืน ประดิษฐานใน วิหารหลวงจำนวน 2 องค์ปัจจุบัน องค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์ จ.น่านอีกองค์ ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน องค์ที่เห็นจำลองจาก องค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี 2550หน้าบันประตูของวิหารหลวงเป็นปูนปั้นลายนาคเกี่ยวกระหวัดกัน 8 หัว เอกลักษณ์ของศิลปะ เมืองน่าน
 



วิหารพระเจ้าทันใจ 
สร้างด้วยคอนกรีตหลังคาไม้มุงด้วย กระเบื้องดิน รูปแบบวิหารโถง ทรงจัตุรมุข กว้าง 11 เมตร ยาว 11เมตร และรอยพระพุทธบาท จำลอง ปัจจุบันบูณณะดูใหม่และงดงามยิ่งขึ้น



วิหารพุทธไสยาศน์   
อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุแช่แห้ง มีเจดีย์สีขาวศิลปะพม่าเป็นเจดีย์ที่จำลองมาให้ชาวพุทธได้บูชา ชาวบ้าน เรียกว่า พระธาตุเชวาดากองตั้งอยู่ทางซ้ายมือเมื่อเดินขึ้นมาถึงบริเวณล้านด้านหน้าวัดพระธาตุวิหาร ก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้าด้านหลังคือ ทิศใต้

 

บันไดนาค
บันไดนาค 2 ตัว คู่กันซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าพระบรมธาตุซึ่งสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองน่านได้ในบริเวณกว้าง

 


วัดภูมินทร์  ตั้งอยู่ที่บ้านภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ใกล้กับพิพิธภัณฑสถาน-แห่งชาติน่าน เดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์" เป็นวัดที่แปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันประตูไม้ทั้งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายโดยช่างฝีมือล้านนาสวยงามมาก นอกจากนี้ฝาผนังยังแสดงถึงชีวิตและ วัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมาตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครอง เมืองน่านได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมือง เหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์" ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างวัด แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น วัดภูมินทร์



พระอุโบสถจตุรมุข
ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยก็คือ เป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์ นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถจตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่า เป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของ ประเทศไทยพระอุโบสถ ตรงใจกลางประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออก ด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์ ชนกันประทับ นั่งบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผู้ที่ไปชมความงามของ พระอุโบสถนี้ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันไดทิศใด จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน

 

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหาร หลวงเขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ ภาพเด่น คือ ภาพปู่ม่านย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายไทลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์
 

 

ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้า ตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำไป ป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขาย แลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคน ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้น เมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ”ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจว หรือ ทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามา ผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่าน ช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบดียวกับที่กำลัง เป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น นอกจากนี้เป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติคันธกุมารและเนมีราชชาดก มีสิ่งที่น่าตื่นเต้น เประทับ ใจที่สุดคือ ภาพบุคคลขนาดใหญ่เท่าตัวคน ที่อาจมีชีวิตอยู่จริงในเวลานั้นความใหญ่โตมโหฬารของภาพบุคคล 6 ภาพ มิใช่จะทำให้คนชมต้องตะลึงเท่านั้น หากภาพวาดมีความงดงามมากเพราะบรรยายถึงอาภรณ์ การแต่งกาย ของหญิงชาย โดยเฉพาะสามารถถ่ายทอดอารมณชีวิตชีวาและแสดงถึงลีลาอัน อ่อนช้อยได้เป็นอย่างดีภาพเหล่า นี้ส่วนมากเขียนอยู่บนบานประตู ซึ่งเมื่อเปิดประตูออก บานประตูจะบังภาพไปบางส่วน

29 April 2019
3025

CONTRIBUTORS

RELATED POSTS

...

BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION’S IDENTITY SYSTEM

เรื่อง สันติ บุญสา

Farmgroup ปล่อยภาพตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร รวมถึงระบบอัตลักษณ์ของเมืองโฉมใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วันนี้อยากชวนมาย้อนดูว่า กระบวนการดีไซน์ผลงานของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง

...

แชมป์-สมชนะ กังวารจิตต์

เรื่อง สันติ บุญสา

Prompt Design บริษัทออกแบบมือรางวัลที่ให้ความสำคัญกับการเนรมิตบรรจุภัณฑ์นานกว่า 18 ปี

...

ETRANMYRA จักรยานยนต์ไฟฟ้า

เรื่อง สันติ บุญสา

จักรยานยนต์ไฟฟ้า เน้นเจาะตลาด Rider ส่งอาหาร และพัสดุ

...

NOBLE แผนปี 2021 เปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้าน

เรื่อง สันติ บุญสา

NOBLE ประกาศแผนปี 2021 ทุ่มเปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์

...

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี

เรื่อง สันติ บุญสา

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี ย้ายมาผลิตในไทยแทน เพื่อลดต้นทุน

...

FiLMiC Pro ปล่อยอัปเดตใหม่ เพิ่ม LogV2 ที่มี Dynamic Range ที่ดีขึ้น

เรื่อง สันติ บุญสา

แอปถ่ายวิดีโอ FiLMiC Pro สำหรับ iOS ได้ปล่อยอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญ อย่าง LogV2 ที่รองรับ Dynamic Range มากขึ้น ลดเสียงรบกวน และการปรับความเข้มสีแบบใหม่

ติดตามข่าว DAYPOSURE