เมื่อธรรมชาติเกิดขึ้นในใจกลางกรุง

เมื่อธรรมชาติเกิดขึ้นในใจกลางกรุง

ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ความแออัด รวมไปถึงปัญหาด้านมลพิษมีมาก ในขณะที่พื้นที่สีเขียวกลับหายากขึ้น

เรื่อง
เมื่อธรรมชาติเกิดขึ้นในใจกลางกรุง

เมื่อธรรมชาติเกิดขึ้นในใจกลางกรุง

ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ความแออัด รวมไปถึงปัญหาด้านมลพิษมีมาก ในขณะที่พื้นที่สีเขียวกลับหายากขึ้น

เรื่อง

เมื่อธรรมชาติเกิดขึ้นในใจกลางกรุง

            ทุกวันนี้ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ต่างต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะที่กดดันจากความแออัด การแข่งขันกันดำเนินชีวิต รวมไปถึงปัญหาด้านมลพิษอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่พื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการผ่อนคลายความตึงเครียดที่ดีที่สุดอย่างสวนสาธารณะ กลับมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของคนกรุงเทพฯ สะท้อนได้จากตัวเลขสัดส่วนพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครต่อประชากร 1 คน (รวมประชากรในทะเบียนราษฎร์และประชากรแฝงที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร) ของสำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (กรุงเทพมหานคร) นั้นอยู่ที่ประมาณ 3.54 ตรารางเมตร หรือประมาณเตียงนอนขนาด 6 ฟุตเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตร ต่อคน อยู่เกือบ ๆ 3 เท่า และหากเทียบกับเพื่อนบ้านสีเขียวอย่างสิงคโปร์ที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่ที่ 66 ตารางเมตร ต่อคนแล้ว คนกรุงเทพฯ 1 คนจะมีพื้นที่สีเขียวน้อยกว่าชาวสิงคโปร์ถึง 18 เท่าเลยทีเดียว เห็นตัวเลขแล้วก็นับว่าน่าตกใจอยู่ไม่น้อย

      

            แต่ก็ยังคงมีความหวังสำหรับชาวกรุงอยู่ เพราะในปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เริ่มเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียวและหันกลับมาพัฒนาพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครกันอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครให้กลายมาเป็นเมืองสีเขียวอย่างแท้จริง ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครได้ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาให้ทุกคนได้เข้าไปสัมผัสกับประสบการณ์ธรรมชาติใจกลางกรุง ภายใต้แนวคิด “ป่ากลางเมือง” คือ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรืออุทยานจุฬาฯ 100 ปี สถานที่ที่เราจะไปเที่ยวชมในครั้งนี้นั่นเอง 
            บนพื้นที่กว่า 28 ไร่ระหว่างถนนบรรทัดทองและซอยจุฬาลงกรณ์ 9 ที่เคยเป็นย่านพาณิชย์เก่าได้ถูกปรับปรุงให้กลายมาเป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวที่ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนโดยรอบและชาวกรุงเทพฯ โดยรวมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกไม่น้อย

     

            เมื่อเดินเข้าสู่พื้นที่ของสวนจุฬาฯ 100 ปี นอกจากความเขียวชอุ่มของต้นไม้นานาชนิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้ในทันทีคือกลิ่นของธรรมชาติจากต้นไม้ใบหญ้าที่ลอยเข้ามาเตะจมูก เรียกได้ว่าชวนให้ผ่อนคลายตั้งแต่เดินเข้าประตูมาเลยทีเดียว โดยสวนจุฬาฯ 100 ปี ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นห้องเรียนกลางแจ้งที่มีคอนเซปต์แตกต่างกันไปในแต่ละโซนที่เรียกว่าห้อง เช่น Herb Room ที่จะรวมพืชสมุนไพรหลากชนิดเอาไว้ Earth Room เป็นโซนที่นั่งที่ทำมาจากดินจากทั่วประเทศ หรือจะเป็น Sand Room บ่อทรายที่เปรียบเสมือนสนามเด็กเล่นของเด็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งยังไม่นับรวมต้นไม้ใหญ่นานาพันธุ์ที่เหมาะกับกรุงเทพมหานคร ปลูกกระจายอยู่ทั่วสวนตามแนวคิดป่าในเมือง

      

            นอกจากสวนกลางแจ้งแล้ว ที่นี่ยังมีอาคารอเนกประสงค์ขนาดใหญ่รูปทรงแปลกตาอยู่ 1 อาคารที่ซ่อนตัวอยู่อย่างกลมกลืนภายใต้หลังคาสีเขียว (Green Roof) และเชื่อมต่อกับสวนกลางแจ้งอย่างลงตัว และด้วยความลาดเอียงของหลังคาสีเขียวที่มีทางน้ำและฝายเล็ก ๆ ทำหน้าที่เป็นที่เก็บน้ำฝนให้ไหลไปลงยังพื้นที่ชุ่มน้ำอีกฝั่งหนึ่งของสวน ตามแนวคิดการจัดการน้ำทั้งการกักเก็บน้ำไว้ใช้และการชะลอการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารด้านล่างอีกด้วย

            บริเวณหลังคาสีเขียวตรงนี้ยังเป็นจุดที่สามารถนั่งรับลมเย็น ๆ ในตอนเช้าและเย็น ชมวิวตึกระฟ้าของกรุงเทพมหานครที่อยู่รายรอบสวนแห่งนี้ได้อย่างสวยงาม รวมไปถึงอาคารที่สูงที่สุดของกรุงเทพฯ ในปัจจุบันอย่างอาคารมหานคร ก็สามารถมองเห็นได้จากสวนแห่งนี้

            นอกจากภาพของความทันสมัยแล้ว สวนแห่งนี้ยังมีภาพของความเป็นธรรมชาติอยู่เต็มเปี่ยม ฝูงนกกระจอกหลายสิบตัวที่หากินอยู่ตามพงหญ้าที่พลิ้วไหวไปตามสายลมเอื่อย ๆ เป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่งในเมืองใหญ่ แต่กลับเห็นได้ไม่ยากที่นี่ เรียกได้ว่าสวนจุฬาฯ 100 ปี คือจุดที่ธรรมชาติเดินทางมาบรรจบกับความเจริญได้อย่างลงตัวและกลมกลืน

            ถึงแม้จะมีพื้นที่เพียง 28 ไร่ และคงไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่สวนจุฬาฯ 100 ปีก็ถือเป็นก้าวแรก ๆ ของการนำพื้นที่อันมีค่าในเมืองหลวงแห่งนี้มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยรอบและผู้ที่มาเยี่ยมเยือนในแต่ละวัน รวมทั้งยังมองไปถึงอนาคตที่ทรัพยากรธรรมชาติจะกลายเป็นสิ่งหายากที่ต้องใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตั้งอยู่ที่ซอยจุฬาลงกรณ์ 9 ตัดกับซอยจุฬาลงกรณ์ 22 บริเวณข้างศูนย์การค้า I’m Park
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 05.00-22.00 นาฬิกา

11 July 2018
2131

CONTRIBUTORS

RELATED POSTS

...

BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION’S IDENTITY SYSTEM

เรื่อง สันติ บุญสา

Farmgroup ปล่อยภาพตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร รวมถึงระบบอัตลักษณ์ของเมืองโฉมใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วันนี้อยากชวนมาย้อนดูว่า กระบวนการดีไซน์ผลงานของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง

...

แชมป์-สมชนะ กังวารจิตต์

เรื่อง สันติ บุญสา

Prompt Design บริษัทออกแบบมือรางวัลที่ให้ความสำคัญกับการเนรมิตบรรจุภัณฑ์นานกว่า 18 ปี

...

ETRANMYRA จักรยานยนต์ไฟฟ้า

เรื่อง สันติ บุญสา

จักรยานยนต์ไฟฟ้า เน้นเจาะตลาด Rider ส่งอาหาร และพัสดุ

...

NOBLE แผนปี 2021 เปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้าน

เรื่อง สันติ บุญสา

NOBLE ประกาศแผนปี 2021 ทุ่มเปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์

...

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี

เรื่อง สันติ บุญสา

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี ย้ายมาผลิตในไทยแทน เพื่อลดต้นทุน

...

FiLMiC Pro ปล่อยอัปเดตใหม่ เพิ่ม LogV2 ที่มี Dynamic Range ที่ดีขึ้น

เรื่อง สันติ บุญสา

แอปถ่ายวิดีโอ FiLMiC Pro สำหรับ iOS ได้ปล่อยอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญ อย่าง LogV2 ที่รองรับ Dynamic Range มากขึ้น ลดเสียงรบกวน และการปรับความเข้มสีแบบใหม่

ติดตามข่าว DAYPOSURE