ปัตตานีที่เราไปรู้จัก

ปัตตานี ที่เราไปรู้จัก ดินแดนแห่งความสวยงามที่หลายคนยังไม่เคยได้มาสัมผัส

เราจินตนาการถึง “ปัตตานี” กันไว้อย่างไร
จินตนาการน่ากลัวกว่าความจริงหรือไม่
อย่าเพิ่งปักใจเชื่ออะไรง่ายๆ
 จนกว่าจะได้ไปเยือนด้วยตัวเอง


เรื่อง
ปัตตานีที่เราไปรู้จัก

ปัตตานี ที่เราไปรู้จัก ดินแดนแห่งความสวยงามที่หลายคนยังไม่เคยได้มาสัมผัส

เราจินตนาการถึง “ปัตตานี” กันไว้อย่างไร
จินตนาการน่ากลัวกว่าความจริงหรือไม่
อย่าเพิ่งปักใจเชื่ออะไรง่ายๆ
 จนกว่าจะได้ไปเยือนด้วยตัวเอง


เรื่อง

พ.ศ. นี้ 
เราจินตนาการถึง “ปัตตานี” กันไว้อย่างไร
จินตนาการน่ากลัวกว่าความจริงหรือไม่
อย่าเพิ่งปักใจเชื่ออะไรง่าย ๆ
จนกว่าจะได้ไปเยือนด้วยตัวเอง
และเรื่องราวต่อไปนี้คือ 
“ปัตตานีที่เราไปรู้จัก”

ป.ล. เรื่องนี้หยิบยกแหล่งท่องเที่ยวในปัตตานีมานำเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น และลำดับการนำเสนอไม่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับใด ๆ ทั้งสิ้น


หาดปัตตานี
เมื่อความงามสนทนากับความเงียบ

          ชายหาดของปัตตานียาวถึง 116.40 กิโลเมตร ไล่ตั้งแต่อำเภอหนองจิก อำเภอเมืองฯ ยะหริ่ง ปะนาเระ ไปถึงสายบุรีและไม้แก่น มีชายหาดมากมายให้แวะชม

เราเริ่มปักหมุดที่หาดแฆแฆ (“แฆแฆ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น หมายถึงอึกทึกครึกโครม) โขดหินใหญ่แบ่งหาดออกเป็นสามเวิ้งหลัก ให้เราสนุกสนานกับการปีนป่ายสไตล์ผจญภัยเล็ก ๆ ดื่มด่ำกับหาดทรายสีทองและโขดหินทรงแปลกตาอย่างเงียบ ๆ หิวเมื่อไหร่เดินผละจากหน้าหาดมานิดเดียวมีร้านขายอาหารเรียงราย นั่งกินรับลมทะเลได้ชิล ๆ

ไล่เรื่อยขึ้นมาแวะหาดมะรวด หาดปะนาเระ ก่อนมาหยุดที่หาดตะโละกาโปร์ เพราะเหลือบเห็นเรือกอและ ราชินีแห่งสายน้ำ จอดอวดลวดลายสีจัดที่ผสมผสานระหว่างลายไทย มลายูท้องถิ่น และจีนอย่างสวยงาม

ลวดลายของเรือส่วนใหญ่เป็นฝีมือของช่างวาดจากอำเภอสายบุรี ซึ่งเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในภาคใต้

ทำไมเรือประมงต้องสีสดลายสวยขนาดนี้ ?

“ไม่รู้เหมือนกัน แต่ถ้าเรือไม่สวย ลุงไม่อยากออกทะเลเลย” คุณลุงชาวประมงหน้าหาดตะโละกาโปร์ตอบ

 

ที่อยู่: หาดแฆแฆ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ หาดตะโละกาโปร์ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง
แนะนำ: หากจะลงเล่นน้ำให้สอบถามชาวบ้านแถบนั้นก่อน เนื่องจากความลาดชันของชายหาดเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล

 

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
เมื่อเย็นวันฮารีรายอ

          มัสยิดกลางฯ เปิดไฟประดับตัดกับสีท้องฟ้าใกล้ค่ำของวันฮารีรายออีดิลฟิตรี

แสงไฟขับมัสยิดรูปทรงคล้ายทัชมาฮาลให้ดูเด่น ที่แห่งนี้ใช้เวลาสร้างกว่า 9 ปี นับแต่ พ.ศ. 2497 ด้วยรัฐบาลเห็นว่าใน 5 จังหวัดภาคใต้มีประชาชนนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก สมควรสร้างมัสยิดขนาดใหญ่ไว้ประกอบศาสนกิจ

วันนี้พี่น้องมุสลิมออกมาเฉลิมฉลองหลังการถือศีลอดสิ้นสุด ช่วงเย็นผู้คนยังคึกคัก เรายืนเก้ ๆ กัง ๆ หน้ามัสยิด หันซ้ายแลขวา ทุกคนต่างสวมเสื้อผ้าชุดใหม่สวยงาม มีเพียงเราที่แต่งชุดเก่าแต่มั่นใจว่าสุภาพยืนงงอยู่นอกรั้ว ก่อนที่จะถูกเชื้อเชิญให้เข้าไปชมความงามของมัสยิดและสัมผัสความเป็นมิตรของพี่น้องมุสลิมภายในรั้ว

ในปัตตานียังมีมัสยิดสวยงามอีกมากมายที่เข้าชมได้ เช่น มัสยิดกรือเซะ มัสยิดดาโต๊ะ ฯลฯ

 

ที่อยู่: ถนนยะรัง ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองฯ
แนะนำ: สวมชุดสุภาพคลุมเข่า เสื้อแขนยาว เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-15.30 นาฬิกา ยกเว้นวันศุกร์ซึ่งเป็นวันละหมาดใหญ่ประจำสัปดาห์

 

Derndin Little Farm
แรงบันดาลใจสร้างได้

          ไม่รู้จะเรียกที่นี่ว่าอะไรดี 
พื้นที่ 5 ไร่ก่อนถึงตลาดปาลัสอบอวลไปด้วยแรงบันดาลใจแก่ผู้มาเยือน พี่เอ็ม-เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา หนุ่มนักออกแบบจบด้านศิลปะประยุกต์และการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากฝรั่งเศส หลังทำงานออกแบบในกรุงเทพฯ 2 ปี จึงตัดสินใจกลับปัตตานีบ้านเกิดมาอยู่กับดินอย่างจริงจัง

เซรามิกแบรนด์ Benjametha มีอัตลักษณ์โดดเด่นสื่อถึงความเป็นมุสลิมวิถี พร้อมสอดแทรกคำสอนตามหลักศาสนาอิสลามลงในชิ้นงาน การันตีด้วยรางวัลด้านออกแบบมากมาย เช่น รางวัลชนะเลิศ Innovative Craft Award 2014 ของศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศศป.) รางวัล Design Excellence Award 2012 ฯลฯ

อีกมุมหนึ่งของบ้านคือทุ่งนากว้างสุดลูกหูลูกตา มีแพะวิ่งกันอย่างสบายใจ หนึ่งในนั้นคือแพะสีออกหมอก ๆ เทา ๆ ที่พี่เอ็มตั้งใจพัฒนาพันธุ์ให้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของหมู่บ้านชื่อว่า“แพะกัมปงปาลัส” (“กัมปง” แปลว่าหมู่บ้าน ส่วน “ปาลัส” เป็นชื่อหมู่บ้านที่นี่) คอกแพะด้านหลังยังแปลงโฉมเป็นสนามยิงธนูในบางขณะ

นอกจากนั้น พี่เอ็มยังใช้ความรู้ด้านการออกแบบมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นให้ร่วมสมัยมากขึ้น เช่น ทำลูกข่างเป็นรูปทรงหัวกรงนก ทำขวานที่ระลึก ฯลฯ และตั้งใจส่งต่อองค์ความรู้ให้กับเยาวชนในชุมชน

แน่ละ ที่นี่ไม่ใช่ศูนย์ฝึกอาชีพ ไม่ใช่สนามเด็กเล่น ไม่ใช่แหล่งเวิร์กช็อป ไม่ใช่ฟาร์มแพะ ไม่ใช่ที่แค้มปิ้ง ฯลฯ ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่คือศูนย์สร้างแรงบันดาลใจที่รวมหลายอย่างไว้ให้เราไปแล้วรู้สึกเอง

 

ที่อยู่: หมู่ที่ 6 ตำบลควน อำเภอปะนาเระ 
เฟซบุ๊ก: BenjamethaCeramic
แนะนำ: สอบถามล่วงหน้าก่อนเข้าชม โทรศัพท์ 08 1609 6934
เปิดทุกวัน เว้นวันศุกร์ เวลา 09.00-17.00 นาฬิกา

 

ชุมชนท่องเที่ยวบางปู
ลอดอุโมงค์โกงกาง ฟังนิทานหิ่งห้อย

          บางปูเป็น 1 ใน 10 ชุมชนท่องเที่ยวของปัตตานี โดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หากมีเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมง สามารถลงเรือล่องเข้าไปในป่าโกงกางผืนใหญ่ ลัดเลาะจนถึงช่วงที่เป็นอุโมงค์กว้าง 6 เมตร ยาว 800 เมตร ถือเป็นช่วงเวลาดื่มด่ำกับความเงียบและได้เงี่ยหูฟังเสียงสรรพสัตว์

หลุดพ้นอุโมงค์เจอปากอ่าวปัตตานี บริเวณนี้ยามค่ำคือแหล่งดูหิ่งห้อยจำนวนมาก เหมือนพวกเขานัดกันมาเล่นเวฟเชียร์กีฬา ไฮไลต์อีกจุดคือแคร่ไม้ไผ่บนต้นโกงกาง จุดชมวิวอ่าวปัตตานีสุดชิล จะพักกินข้าวกลางวัน นอนสักงีบ หรือเฝ้าดูนกบินกลับรังยามเย็นจากจุดนี้ก็ฟินไม่แพ้กัน

เมนูยอดนิยมของชุมชนบางปู ได้แก่ ปลากระบอกแดดเดียว ยำสาหร่ายผมนาง ตูมิปลาโอผัด แกงส้มปลาเรียวเซียว หากต้องการกินเมนูปูดำควรสั่งล่วงหน้าสัก 1 อาทิตย์ เนื่องจากใช้วิธีประมงพื้นบ้านในการจับ ทำให้จับได้ครั้งละไม่มาก

 

ที่อยู่: ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง
โทรศัพท์: 08 8389 4508 และ 06 2269 1815
แนะนำ: หากล่องเรือช่วงกลางวันควรเตรียมหมวกไปด้วย เพราะเรือไม่มีหลังคา

 

ตลาดสดน่าเดิน
เพลินกว่าที่คิด

          “อยากรู้จักพื้นที่ไหน ให้ไปเดินตลาดสด” คำพูดนี้ใช้ได้จริงเสมอ เมืองปัตตานีก็เช่นกัน เจ้าบ้านแนะนำให้ไปเดินตลาดจะบังติกอร์ยามเย็น มีอาหารหน้าตาแปลก ๆ ให้เลือกกินในที่เดียว ทั้งไก่ฆอและ (ไก่ย่างหมักเครื่องเทศรสจัด) รอเยาะ (สลัดแขก) โรตีปาแย (แผ่นโรตีกินกับน้ำสะเต๊ะหรือแกง) ตุปะซูตง (หมึกยัดไส้ข้าวเหนียว) ฯลฯ

ส่วนตอนเช้าตรู่ไปเดินตลาดเทศวิวัฒน์ 1 คนแถวนี้เรียกกันว่าตลาดพิธาน เป็นแหล่งรวมอาหารสดทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารทะเลที่เพิ่งขึ้นจากเรือ

ประมาณ 7 โมงเช้ามีคุณลุงมุสลิมปั่นสามล้อให้หลวงตานั่งมาบิณฑบาตแถวหน้าตลาด เป็นภาพคุ้นตาแสนงดงามของคนแถบนี้ บริเวณริมคลองข้างตลาดยังมีภาพสตรีตอาร์ตบนผนังตึกสะท้อนวิถีชีวิตคนปัตตานีอีกด้วย

ที่อยู่: ตลาดจะบังติกอร์ ถนนยะรัง อำเภอเมืองฯ (ห่างจากมัสยิดกลางฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร)
ตลาดเทศวิวัฒน์ 1 ถนนฤดี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองฯ (ฝั่งตรงข้ามเยื้องธนาคารธนชาต ปัตตานี)
แนะนำ: ปัตตานีมีตลาดเสื้อผ้ามือสองที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น ตลาดรูสะมิแล ตลาดยะหริ่ง ฯลฯ

 

วัดราษฎร์บูรณาราม (วัดช้างให้) ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
ยึดเหนี่ยวจิตใจไทย-จีน

      

          สองสถานที่ “ต้องไป” เมื่อมาปัตตานี วัดราษฎร์บูรณาราม หรือวัดช้างให้ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟสถานีวัดช้างให้ เป็นวัดเก่าแก่ มีสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดให้สักการะ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประดิษฐานรูปแกะสลักเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เจ้าแม่ทับทิม และเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มีงานแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและพิธีลุยไฟ ลุยน้ำอย่างยิ่งใหญ่ ใกล้ศาลฯ มีพิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือหอนิทรรศน์สานอารยธรรมปัตตานี แหล่งรวบรวมเรื่องราวเมืองปัตตานีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต และประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

 

ที่อยู่: วัดช้างให้ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์
ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองฯ

 

วังยะหริ่ง-Patani Artspace
แหล่งศิลปะเก่า-ใหม่น่าไปเยือน

          วังยะหริ่ง สร้างในสมัยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2438 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นสถาปัตยกรรมผสมระหว่างไทย มุสลิม จีน และยุโรป ตัวอาคาร 2 ชั้น มีห้องรวมกว่า 20 ห้อง ชั้นบนเคยเป็นที่พักของเจ้าเมืองและบุตรธิดา โถงกลางวังใช้เป็นท้องพระโรง รอบ ๆ มีช่องระบายอากาศฉลุลายไม้สวยงาม ประดับกระจกสี มีบันไดโค้งสไตล์ยุโรป ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของทายาทและเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล

Patani Artspace เป็นที่แสดงงานศิลปะแหล่งใหม่ของปัตตานี มีผลงานจัดแสดงสับเปลี่ยนกันไป ทั้งยังเป็นคล้าย Workspace ของเหล่าศิลปินลูกศิษย์อาจารย์เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ อาจารย์ประจำสาขาทัศนศิลป์ มอ. ปัตตานี

ผลงานที่กำลังจัดแสดงอยู่ขณะนี้ (มิถุนายน) เกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ที่ศิลปินถ่ายทอดผ่านมุมมองและเทคนิคต่าง ๆ ทางศิลปะ ด้านนอกมีร้านกาแฟกลางวิวท้องทุ่งนาน่านั่ง

 

ที่อยู่: วังยะหริ่ง หมู่ที่ 2 ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง
Patani Artspace หมู่ 1 ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก
แนะนำ: ก่อนเข้าวังยะหริ่งให้โทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 08 1898 6724

 

คู่มือนักเดินทาง

จังหวัดปัตตานี อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,055 กิโลเมตร เป็นเมืองสามวัฒนธรรม คือ ไทยอิสลาม ไทยพุทธ และไทยจีน มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน ด้านตะวันออกเป็นชายหาดยาว วิธีเดินทางที่แนะนำ คือโดยสารเครื่องบินมาลงที่สนามบินนานาชาติหาดใหญ่ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 25 นาที จากกรุงเทพฯ จากนั้นเหมารถท้องถิ่น หรือเช่ารถขับมาเอง ในสนามบินมีบริษัทรถเช่าหลายบริษัทให้บริการ เช่น Avis, Budget, Hertz ฯลฯ ระยะทางมาถึงอำเภอเมืองปัตตานี 125 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที ใช้ทางหลวงหมายเลข 43 (หาดใหญ่-ปัตตานี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ ททท. สำนักงานนราธิวาส โทรศัพท์ 0 7352 2411 และ 0 7354 2345 อีเมล tatnarathiwat@hotmail.com หรือเฟซบุ๊ก www.facebook.com/tatnarathiwat

ที่มา : https://www.osothomagazine.com/content/4596//ปัตตานีที่เราไปรู้จัก

11 July 2018
3599

CONTRIBUTORS

RELATED POSTS

...

BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION’S IDENTITY SYSTEM

เรื่อง สันติ บุญสา

Farmgroup ปล่อยภาพตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร รวมถึงระบบอัตลักษณ์ของเมืองโฉมใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา วันนี้อยากชวนมาย้อนดูว่า กระบวนการดีไซน์ผลงานของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง

...

แชมป์-สมชนะ กังวารจิตต์

เรื่อง สันติ บุญสา

Prompt Design บริษัทออกแบบมือรางวัลที่ให้ความสำคัญกับการเนรมิตบรรจุภัณฑ์นานกว่า 18 ปี

...

ETRANMYRA จักรยานยนต์ไฟฟ้า

เรื่อง สันติ บุญสา

จักรยานยนต์ไฟฟ้า เน้นเจาะตลาด Rider ส่งอาหาร และพัสดุ

...

NOBLE แผนปี 2021 เปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้าน

เรื่อง สันติ บุญสา

NOBLE ประกาศแผนปี 2021 ทุ่มเปิด 11 โครงการ มูลค่า 45,100 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์

...

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี

เรื่อง สันติ บุญสา

Nikon ยุติผลิตกล้องถ่ายภาพในญี่ปุ่นที่มีมากว่า 70 ปี ย้ายมาผลิตในไทยแทน เพื่อลดต้นทุน

...

FiLMiC Pro ปล่อยอัปเดตใหม่ เพิ่ม LogV2 ที่มี Dynamic Range ที่ดีขึ้น

เรื่อง สันติ บุญสา

แอปถ่ายวิดีโอ FiLMiC Pro สำหรับ iOS ได้ปล่อยอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญ อย่าง LogV2 ที่รองรับ Dynamic Range มากขึ้น ลดเสียงรบกวน และการปรับความเข้มสีแบบใหม่

ติดตามข่าว DAYPOSURE