ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รถราง” ซึ่งก็หมายถึง รถที่แล่นไปบนรางโดยวิ่งไปโดยอาศัยแรงผลักดันของกำลังไฟฟ้า และด้วยการอาศัยแรงผลักดันของไฟฟ้า ก็น่าที่จะเรียกว่ารถไฟฟ้ามากกว่า...
ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รถราง” ซึ่งก็หมายถึง รถที่แล่นไปบนรางโดยวิ่งไปโดยอาศัยแรงผลักดันของกำลังไฟฟ้า และด้วยการอาศัยแรงผลักดันของไฟฟ้า ก็น่าที่จะเรียกว่ารถไฟฟ้ามากกว่า...
ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รถราง” ซึ่งก็หมายถึง รถที่แล่นไปบนรางโดยวิ่งไปโดยอาศัยแรงผลักดันของกำลังไฟฟ้า และด้วยการอาศัยแรงผลักดันของไฟฟ้า ก็น่าที่จะเรียกว่ารถไฟฟ้ามากกว่า...
แต่คนไทยกลับนิยมเรียกว่า “รถราง” คงเป็นเพราะยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในกรุงเทพฯ รถรางยังวิ่งโดยอาศัยม้าลากไป ไฟฟ้ายังไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับรถรางแม้แต่น้อย จึงเรียกว่ารถรางมาตั้งแต่บัดนั้น จะเรียกว่ารถม้าก็ไม่ได้ เพราะตอนนั้นมีรถม้าอยู่แล้ว สมัยนั้นรถรางกับรถม้าผิดกันอยู่นิดเดียว คือรถรางต้องวิ่งไปตามรางแต่รถม้าไม่ต้องมีรางก็ได้ ต่อมารถรางเปลี่ยนจากแรงม้าใช้แรงไฟฟ้า ผู้มีปัญญาในสมัยนั้นพยายามเรียกรถไฟฟ้ากันอยู่พักหนึ่ง แต่คนก็ยังนิยมที่จะเรียกกันว่ารถรางมากกว่า และไม่มีใครยอมเรียกรถไฟฟ้า ก็เลยเลิกไป
กำเนิดของรถราง ภายหลังจากการสร้างถนนเจริญกรุงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ และเปิดให้คนใช้สัญจรไปมาตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ปรากฏว่าถนนสายนี้มีคนสัญจรไปมากันมากเพราะเป็นถนนสายยาวที่มี และถนนสายนี้เป็นถนนเชื่อมระหว่างท่าเรือถนนตกกับในเมือง หรือในเขตที่เจริญแล้ว ผู้คนจึงมีมาก การคมนาคมในสมัยนั้น ถ้าเป็นทางน้ำก็ใช้เรือพาย เรือแจว ถ้าเป็นเจ้านาย ขุนนาง ก็ใช้เรือเก็งเรือประทุน ถ้าเป็นทางบกก็ใช้เดินมากที่สุด หรืออย่างดีก็ขี่ม้า ถ้ามีเงินหน่อยก็ใช้รถม้า มีรถเจ๊กวิ่งรับจ้างอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากนัก
ถนนเจริญกรุงจะมีผู้คนใช้สัญจรไปมามาก พื้นถนนสร้างครั้งแรกไม่มีการลงราง ใช้เพียงอิฐเรียงตะแคงเท่านั้น ในไม่ช้าก็ชำรุดทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว ไม่สะดวกแก่รถม้า รถเจ๊ก และแม้แต่คนเดินเท้า ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ฝรั่งชาติเดนมาร์กคนหนึ่ง มีความคิดที่จะมองเห็นผลประโยชน์ที่จะใช้ถนนเจริญกรุง อันเป็นหลุมเป็นบ่อและเต็มไปด้วยโคลนเลนในหน้าฝนนั้น นำเงินจากกระเป๋าคนไทยมาเข้ากระเป๋าตัวเองได้อย่างสบาย
ฝรั่งคนนี้ คือ นายจอห์น ลอฟตัล นายจอห์นขออนุญาตต่อรัฐบาลทำสัมปทานการรถรางขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้นายจอห์น ดำเนินการได้ ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เช่นอารยประเทศทั้งหลาย อีกทั้งยังทรงเห็นว่าการมีรถรางมากๆ เป็นความสะดวกของอาณาประชาราษฎร์ และประการสำคัญคือ รถของนายจอห์น ลอฟตัลไม่เป็นอันตรายแก่ถนนหลวงด้วยนายจอห์น ลอฟตัล เริ่มวางรางสำหรับให้รถวิ่งตั้งแต่บางคอแหลม ถนนตก มาตามสายถนนเจริญกรุง จนถึงพระบรมมหาราชวัง ขณะนั้นมีประชาชนสนใจมาดูการสร้างราง เพราะไม่เคยเห็น บางคนก็ไม่รู้ว่านายจอห์นจะทำอะไร จึงเกิดการวิจารณ์กันมาก บางคนก็ว่า ฉวยโอกาสทำการโฆษณาคุณภาพรถว่าวิเศษนัก ดีกว่าเดิน ดีกว่ารถม้า นั่งแล้วไม่สะเทือน บางก็ว่าโม้มากไป
หลังจากที่วางรางเสร็จ นายจอห์นก็ทำพิธีเปิดรางเป็นครั้งแรก เมื่อ วันที่ ๒๒ กันยายน ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยใช้ม้าลากไปตามราง เมื่อเดินรถวันแรกนั้นนายจอห์นจะไม่เก็บสตางค์ให้นั่งฟรี ผู้คนจึงนั่งรถรางเป็นการใหญ่และได้รู้ว่านั่งรถรางแล้วไม่สะเทือนจริงๆ ดีกว่ารถเจ๊ก สบายกว่ารถม้าเป็นไหนๆ รถรางของนายจอห์น อะไรๆ ก็ดีแต่สงสารม้า นายจอห์นอ้วนขึ้นแต่ม้าผอมลงทุกวัน ม้าลากรถรางคันหนึ่งมีสองคู่ คือ ๔ ตัว เรียกว่า “พวงหนึ่ง”
นอกจากนั้น ยังมีม้าอะไหล่ไว้สำหรับสับเปลี่ยนระยะๆ ตลอดไปตามถนนเจริญกรุง เมื่อม้าลากรถรางมาถึงระยะสับเปลี่ยน ก็เอาม้าพวงที่ลากมาออกให้กินน้ำกินหญ้าพักผ่อน แล้วเปลี่ยนไปเทียมม้าพวงที่เอามารอไว้ลากต่อไป ทำอย่างนี้เป็นระยะๆ ไป นายจอห์น ลอฟตัล จะร่ำรวยจากกิจการรถรางของเขาหรือขาดทุนนั้นไม่ปรากฏทราบ แต่ว่ารถรางนายจอห์น เดินอยู่ได้ไม่กี่ปีก็ต้องโอนกิจการไปให้บริษัทอังกฤษแห่งหนึ่งดำเนินการต่อไป บริษัทที่รับช่วงงานไปจากนายจอห์น คือ บริษัท บางกอกแทรมเวย์ คอมปะนี ลิมิเต็ด บริษัทนี้ปรับปรุงกิจการรถรางให้สะดวกขึ้นอีกเล็กน้อยแต่ยังใช้ม้าลากอยู่เช่นเดิม ดำเนินการอยู่ได้ไม่นานก็ขาดทุนย่อยยับ เลยต้องโอนกิจการรถรางไปให้บริษัทของชาติเดนมาร์กอีก เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๔๓๕
ด้วยชั่วระยะเวลาเพียง ๔ ปี กิจการรถรางต้องเปลี่ยนมือผู้ดำเนินการมาถึง ๓ ครั้ง สำหรับบริษัทหลังได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงรถราง โดยเปลี่ยนจากการใช้ม้าลากมาใช้กำลังไฟฟ้าแทน โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจาก บริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด ภายหลังจากวางสายไฟฟ้าและปรับปรุงระบบการเดินรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว รถรางโดยกำลังกระแสไฟฟ้า ก็ได้ทำพิธีเปิดเดินเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. ถือได้ว่า การใช้กำลังไฟฟ้าในกิจการรถรางนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินทาง
แม้แต่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่จัดระบบการเดินรถรางที่เจริญก้าวหน้าที่สุดของโลกประเทศหนึ่งในปัจจุบัน ก็เพิ่งเริ่มงานรถรางเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นเวลาภายหลังจากที่ประเทศไทยใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อการรถรางถึง ๙ ปี และถ้านับรวมถึงเวลาที่นายจอห์น เริ่มงานรถรางในเมืองไทยด้วยแล้ว อังกฤษเริ่มงานรถรางภายหลังประเทศไทยถึง ๑๕ ปี รถรางโดยกระแสไฟฟ้าของบริษัทชาติเดนมาร์ก ดำเนินการมาได้ ๖ ปี คือ ดำเนินงานมาถึงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ บริษัทรถรางก็โอนกิจการเข้าไปรวมเป็นบริษัทเดียวกับ บริษัทอิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด กิจการของบริษัทก็เจริญ และเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งขึ้น
นอกจากปรับปรุงรถรางสายเจริญกรุงแล้ว บริษัทยังได้เปิดรถรางสายสามเสนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และในปีนั้น บริษัทยังได้รับโอนสัมปทานการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครซึ่งเดิมเป็นของบริษัทชาวอเมริกัน ชื่อ บริษัท บางกอก อิเลคทริคโลม ซินดิเทค เข้ามารวมในกิจการของบริษัทอีกด้วย กิจการของบริษัทนี้เจริญก้าวหน้าต่อมา มีผลกำไรปีละไม่น้อย จากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นเวลา ๔ ปี ได้มีผู้ตั้งบริษัทรถรางขึ้นอีกบริษัทหนึ่ง คือ บริษัท รถรางไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมั ติให้เดินรถรางในกรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปงานพระราชพิธีฝังนอตรางอันสุดท้าย เพื่อเป็นการแสดงว่าการก่อสร้างรางสำเร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ และได้เสด็จประทับรถรางพิเศษซึ่งได้จัดเป็นรถพระที่นั่ง พร้อมด้วยรถตามเสด็จอีกรวม ๑๖ คัน แต่ละคันตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามมาก รถรางที่เปิดเดินสายใหม่ คือ รถรางสายรอบเมือง หรือที่เรียกว่า “สายดุสิต” ตัวรถทาด้วยสีแดง จึงเรียกว่า “รถรางสายแดง” ส่วนรถของบริษัทเดิมทาสีเหลืองจึงเรียกว่า “รถรางสายเหลือง”
กิจการของบริษัทรถรางได้ดำเนินต่อมา จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ อันเป็นเวลาภายหลังจากบริษัทเริ่มดำเนินกิจการมาได้เพียง ๔ ปี ก็ได้โอนกิจการไปรวมกับบริษัทรถรางฝรั่ง ซึ่งเดินอยู่แต่เดิม คือสายเจริญกรุงและสายสามเสน เปลี่ยนนามใหม่เป็น บริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด เป็นอันว่ารถรางเหลืองอยู่เพียงบริษัทเดียว สีแดงของรถรางสายดุสิตได้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เพื่อให้เป็นสีเดียวกัน จนถึงวันที่ ๕ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ บริษัทจึงได้เปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งเป็น บริษัท ไฟฟ้าไทย คอปอเรชั่น จำกัด และในที่สุด บริษัทนี้ซึ่งดำเนินกิจการทั้งการรถรางและการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ก็ได้โอนมาเป็นของรัฐบาล เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๓
ในต่างจังหวัดนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการคมนาคมแก่ประชาชน รัฐบาลได้ดำริที่จะขอการรถรางออกไปยังต่างจังหวัดด้วย และได้เริ่ม ดำเนินการที่จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดแรก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยเปิดเดินตั้งแต่ศาลพระกาฬตลอดไปจนถึงกองพันทหารที่ ๖ ต่อมา ได้ขยายทางต่อจากศาลพระกาฬเข้ามาในเมืองลพบุรี จนถึงโบสถ์พราหมณ์ ส่วนในรูปลักษณะรถรางเมืองลพบุรีและการดำเนินกิจการนั้น ก็คงเหมือนกับรถรางในกรุงเทพฯ สมัยที่มีรถรางเริ่มในเมืองไทยใหม่ๆ นั้น เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป เพราะยานพาหนะอื่นๆ ยังไม่มี ถึงมีแต่ก็ไม่มาก ผู้โดยสารน้อย การรถร างจึงมีแต่ทรงกับทรุด เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ ผู้คนในพระนครเริ่มมีมากขึ้น กิจการรถรางจึงค่อยดีขึ้น แต่ก็มีพาหนะอื่นๆ เช่น สามล้อ แท็กซี่ และรถประจำทางก็มีเพิ่มมากขึ้น
รถเหล่านั้นจึงแย่งผู้โดยสารรถรางไปเสียมาก เพราะรวดเร็วและสะดวกสบายหลายประการ รถรางจะช้าเมื่อตอนรอหลีก ไม่เหมาะแก่การไปไหนมาไหนในเวลาน้อย หรือเวลารีบด่วน ดังนั้น เมื่อมีรถโดยสารอื่นๆ มาแข่งขัน ความสนใจของประชาชนที่มีต่อการรถรางจึงดูเนือยๆ ไป จนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยานพาหนะอื่นๆ ส่วนมากต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันส่งมาจากต่างประเทศไม่ได้ก็เลยต้องหยุดวิ่ง รถที่ไม่ได้อาศัยน้ำมันก็ตื่นตัว คือ รถสามล้อ รถเจ๊ก รถม้า เพราะหาเงินได้คล่อง แต่รถสามล้อในช่วงปลายสงครามขาดแคลน เพราะยางที่มีอยู่ก่อนก็ร่อยหรอ หาซื้อใหม่ไม่ได้ ที่อยู่นานก็คือรถเจ๊กและรถราง แม้รถรางเป็นรถโดยสารที่ช้าไปหน่อย แต่ก็ซื่อสัตย์ ยืนหยัดบริการได้ตลอดเวลา
ในตอนปลายสงครามรถรางก็เริ่มแย่ลง เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไม่พอหลายสายต้องหยุดเดิน บางสายก็ลดจำนวนให้น้อยลง นั่งรถรางสมัยไหนก็ไม่ยากลำบากเท่ากับรถรางสมัยสงคราม เพราะคนแน่น ต้องลงทางหน้าต่างก็มี บางทีเวลารถวิ่งต้องห้อยโหนเกาะตัวถังรถเป็นพวง บางครั้งก็พลัดตกลงมาแขนหักคอหักตายไปบ่อยๆ ก็มี อาชีพล้วงกระเป๋าก็เจริญขึ้นไปตอนสงครามนี่เอง และนี่คือประวัติของรถรางในอดีตของเมืองไทยประเทศแรกในโลกที่นำกระแสไฟฟ้าเข้ามาเป็นแรงผลักดันในการวิ่ง จึงถือได้ว่ารถรางมีความสำคั ญ และเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยในอดีตที่ผ่านมา.